วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ช็อกโกแลตซีสตฺ์ ปัญหาภายใน



โรคช็อกโกแลตซีสต์
ผู้หญิงเป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์ถึง 1 ใน 3 แม้โรคนี้จะไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่ก็สร้างความทรมารให้กับผู้หญิงเป็นอย่างมาก

โรคช็อกโกแลตซีสต์ หรือ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เกิดจากเลือดประจำเดือนไหลย้อนไปออกที่รูของท่อรังไข่ และไปตกอยู่ในที่ที่ไม่ควรอยู่ เช่น กระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดพังผืดขึ้นได้ หรือในกรณีที่เลือดเกิดไหลย้อนไปฝังตัวที่รังไข่ รังไข่ก็จะสร้างเซลล์มาห่อหุ้ม กลายเป็นถุงน้ำขึ้น ซึ่งมันจะสามารถโตขึ้นเรื่อยๆ จนแตกได้ และเนื่องจากเลือดที่ไปฝังตัวอยู่นั้นเป็นเลือดเก่า สีข้นเหมือนช็อกโกแลต จึงเป็นที่มาของคำว่า “ช็อกโกแลตซีสต์” นั้นเอง

อาการของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือ ช็อกโกแลตซีสต์

  1. ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดท้องด้านข้าง ร้าวไปทางทวารหนักในขณะมีประจำเดือน และเมื่อประจำเดือนหมดแล้วก็ยังไม่หายปวด
  2. เจ็บในอุ้งเชิงกรานขณะมีเพศสัมพันธ์
  3. มีเลือดออกกระปิดกระปอยระหว่างรอบเดือน
  4. เป็นคนที่มีบุตรยาก เนื่องจากเกิดพังผืดที่ท่อนำไข่หรือรังไข่ หรือร่างกายอาจสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ทำให้ในโพรงมดลูกเกิดมีภูมิคุ้มกันต่อต้านการมีบุตรได้
  5. บางรายไม่มีอาการไดๆ เลย ก็สามารถเป็นได้

การตรวจ วินิจฉัยโรคช็อกโกแลตซีสต์

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากการตรวจภายในหรือการตรวจทางทวารหนัก แต่ในกรณีที่การตรวจไม่ชัดเจน ก็อาจจำเป็นต้องทำอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอดหรือทางทวารหนัก หรือในบางครั้งอาจจำเป็นต้องส่องกล้องตรวจภายในช่องท้อง

วิธีรักษาโรคช็อกโกแลตซีสต์

  1. การรักษาเบื้องต้น สามารถทำได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดชนิดที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ
  2. การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง ด้วยการฉีดยาหรือกินยาลดฮอร์โมนเพศ ซึ่งยาจะไปยับยังการตกไข่ ทำให้เราไม่มีฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้ไม่มีประจำเดือน เมื่อไม่มีประจำเดือน เยื่อบุโพรงมดลูกที่อยู่ผิดที่ก็จะฝ่อไป แต่ก็มีข้อเสีย คือ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถตั้งครรภ์ได้
  3. การผ่าตัด ถ้าซีสต์นั้นอยู่ในจุดสำคัญ และมีขนาดใหญ่ขึ้นก็อาจจำเป็นต้องผ่าตัดออก ซึ่งวิธีที่นิยมและเป็นมาตรฐาน คือ การผ่าตัดโดยใช้กล้อง เนื่องจากแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้เร็ว และมีโอกาสเกิดพังผืดภายหลังการผ่าตัดน้อยกว่าวิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง ซึ่งกรณีนี้ถือว่าสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ยังต้องการมีบุตรในอนาคต
โรคนี้สามารถรักษาได้ แต่ไม่หายขาด ตราบใดที่ยังมีประจำเดือน ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ขึ้นมาอีกได้ ซึ่งอาการต่างๆ ของโรคนี้จะลดน้อยลงจนหายไป เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น